วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติจังหวัดเชียงราย





ที่ตั้ง อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ในภาคเหนือตอนบนห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 785 กม.
พื้นที่ 11,678.369 ตร.กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ -ประเทศพม่า และลาว
ทิศใต้ -จ. ลำปาง และ จ. พะเยา
ทิศตะวันออก -ประเทศลาว
ทิศตะวันตก -จ. เชียงใหม่และประเทศพม่า
แม่น้ำ แม่น้ำสำคัญมีดังนี้
แม่น้ำกก มีความยาวตลอดสาย 145 กม.
แม่น้ำโขง มีความยาวตลอดสาย 94 กม.
แม่น้ำอิง มีความยาวตลอดสาย 100 กม.
แม่น้ำคำ มีความยายตลอดสาย 85 กม.
แม่น้ำลาว มึความยาวตลอดสาย 117 กม.
แม่น้ำสาย เป้นแม่น้ำสารวั้น ๆ ไหลผ่าน อ. แม่สายแบ่งเขตแดนระหว่างไทยและพม่า
แม่น้ำรวก เป็นแม่น้ำสายสั้นที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บ้านสบรวก อ. เชียงแสน
ภูมิอากาศ แบ่งเป็นสามฤดู
ฤดูร้อน -กลางเดือนมี.ค ถึงกลางเดือน พ.ค. อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้คือ 41.3 ซ. อากาศอบอ้าวและแห้งแล้ง อาจมีพายุฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงเดือน เม.ย
ฤดูฝน -กลางเดือน พ.ค. ถึงกลางเดือน ต.ค. มีฝนตกชุกในช่วงเดือน ส.ค. และ ก.ย. มีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้ามาสู่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งทำให้ฝนตกชุกมากกว่าปกติหรือเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
ฤดูหนาว -กลางเดือน ต.ค. ถึงกลางเดือน ก.พ. เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 4 เดือน อากาศหนาวจัดในช่วงเดือน ธ.ค. และ ม.ค. โดยเฉพาะในเขตเทือกเขา อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ คือ 1.5 ซ.
การปกครอง
แบ่งออกเป็น 16 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ. เมือง อ. เชียงของ อ. เวียงป่าเป้า อ. เทิง อ. ป่าแดด อ. พาน อ. เวียงชัย อ. แม่จัน อ. เชียงแสน อ.แม่สาย อ. แม่สรวย อ. พญาเม็งราย อ. เวียงแก่น อ. ขุนตาล อ. แม่ฟ้าหลวง อ. แม่ลาว กิ่ง อ. เวียงเขียงรุ่ง และกิ่ง อ. ดอยหลวง
คำขวัญประจำจังหวัด เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา



ดวงตราประจำจังหวัด รูปช้างสีขาว
ดอกไม้ประจำจังหวัด พวงแสด
ต้นไม้ประจำจังหวัด กาสะลองคำหรือปีบทอง
กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย
พื้นที่ของ จังหวัดเชียงรายมีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทั้งตามที่ราบและบนดอยสูง ซึ่งชนแต่ละกลุ่มจะมีศาสนา ประเพณี และ วัฒนธรรมแตกต่างกันไปตามแต่วิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้ปฎิบัติสืบทอดกันมา โดยประชากรในเชียงรายสามารถจำแนกออกเป็นชนชาติต่าง ๆ ดังนี้
คนเมือง เป็นกลุ่มชนใหญ่ที่สุด ในอดีตถูกเรียกว่าไทยวน หรือลาวพุงดำ ผู้ชายมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ส่วนผู้หญิงมีรูปร่าง ผิวพรรณ และหน้าตางดงาม ชาวไทยมีภาษาพูดต่างไปจากไทยภาค กลางเล็กน้อย และมีตัวหนังสือเฉพาะ แต่ปัจจุบันได้ทันมาใช้ภาษาไทยกลางแทน อาศัยอยู่ในชาวบ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วมีไม้ไขว้สลักลวดลายเรียกว่า กาแล ชาวไทยวนส่วนมากประกอบอาชีพทำการเกษตร และก็มีฝีมือทางการช่างและการหัตถกรรม
ไทลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำโชง และตอนกลางของแขวงไขยบุรีในลาว
ไทเขิน เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำขิ่น รัฐฉานของพม่า แล้วอพยพเข้ามาอาศัยอยู่บิรเวรดอยแม่สลองชื่อไทยเชินเพี้ยนมาจากไทขึนหรือไทขิ่นนั่นเอง
ไทใหญ่ เรียกตัวเองว่าไต ส่วนคนเมืองเรียกว่า เงี้ยวและชาวพม่าเรียกว่า ฉาน เพราะมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในรัฐฉาน ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทยภาคกลาง ผู้หญิงมีผิวคล้ำกว่าชาวพม่ามีภาษาพูดแตกต่างจากคนเมืองและไทยภาคกลางเล็กน้อย แต่มีภาษาเขียนของตนเอง ชาวไทใหญ่ทำนา ทำไร่ และค้าขาย มีฝีมือทางหัตถกรรม ได้แก่ ทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา และแกะสลัก
อีก้อ เรียกตัวเองว่าอาข่า รูปร่างเล็กแต่แข็งแรงล่ำสันผิวสีน้ำตาลอ่อน หยาบกร้าน มีภาษาพูดคล้ายภาษามูเซอและลีซอ ไม่มีตัวอักษรใช้ ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาวแต่รวบผมไว้ แล้วใส่หมวกทับ คอสวมเครื่องประดับ ใส่เสื้อผ้าสีดำ ผู้ชายโกนหัวไว้ผมเปีย ชาวอาข่านิยมตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1200 ม.ขึ้นไปยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย อาข่านับถือผี มีเสาชิงช้าและลานสาวกอดอยู่หน้าหมู่บ้าน
มูเซอ เรียกตัวเองว่าลาหู่ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน้ำตาลอ่อน ชอบกินหมาก มีภาษาพูดเฉพาะ แต่ไม่มีตัวอักษรใช้ แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ หลายกลุ่มตามลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง ชาวมูเซออาศัยบนภูเขาสูงอยู่ในบ้านยกพื้นสูง ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย และเป็นชนเผ่าที่ชำนาญการล่าสัตว์เป็นอย่างมาก
เย้า เรียกตัวเองว่าเมี่ยน รูปร่างและผิวพรรณคล้ายคลึงกับคนจีนมาก ความสูงโดยเฉลี่ยจะเท่ากับคนไทยทั่วไป มีนิสัยขยันขันแข็งและทรหดอดทน มีภาษาจีนเช่นกัน ไม่มีตัวอักษรใช้ต้องยืมอักษรจีนมาใช้เขียนเป็นของตนเองและอ่านออกเสียงเป็นภาษาเย้า ชาวเย้ามักตั้งบ้านเรือนอยู่บนไหล่เขา ทำไร่ข้างโพด ตีเหล็ก เย็บปักถักร้อย และทำเครื่องเงิน
กะเหรี่ยง ผู้ชายรูปร่างสันทัด แข็งแรง ส่ำสัน ช่วงเขาใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงแบ่งย่อยออกไปหลายเผ่า ภาษามีความใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจกันได้ ชาวกะเหรี่ยงมักตั้งบ้านเรือนแบบถาวร อาศัยการทำนาและปลูกพืชไร่ มีทั้งที่ยังนับถือผี และหันมานับถือศาสนาพุทธและคริสต์
ลีซอ เป็นชนเผ่าที่มีสีผิวขาวกว่าเผ่าอื่น หน้าตากว้างกลม มีภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน ผู้หญิงนิยมเกล้ามวยไว้ท้ายทอย เวลามีงานพิธีจะโพกหัวและสวมห่วงเงินไว้ที่คอ ชาวลีซอนิยมตั้งบ้านเรือนในที่สูงกว่าอีก้อและมูเซอ ยังชีพด้วยการปลูกข้าวโพด และชำนาญทางล่าสัตว์
แม้ว เรียกตัวเองว่าม้ง ท่าทางและลักษณะการพูดจะคล้ายคนจีน ผู้ชายค่อนข้างสูง ผู้หญิงรูปร่างสมส่วน ม้งไม่มีภาษาพูดที่แน่นอน ส่วนใหญ่ยืมภาษาอื่นมาใช้ บ้านม้งสร้างติดดินบนภูเขาสูง โดยยึดอาชีพทำไรข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ตีเครื่องเงินและเย็บปักถักร้อย ส่วนใหญ่นับถือผี แต่ก็มีผู้หันมานับถือศาสนาพุทธและคริสต์อยู่บ้าง
จีนฮ่อ เป็นกลุ่มชนชาวจีนที่เป็นอดีตทหารกองพลที่ได้หลบหนีการปราบปรามของจีนคอมมิวนิสต์ผ่านทางพม่าเข้ามายังประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2493-2499 มีวัฒนธรรมของตนเองใช้พาษาจีนกลางแชะกวางตุ้ง ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่บนเขตพื้นที่เขาของ จ. เชียงราย โดยเฉพาะบนดอยแม่สลองประกอบอาชีพหลักด้วยการทำการเกษตรและค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ ลัทธิขงจื้อ และศาสนาอิสลาม



พระตำหนักดอยตุง


พระตำหนักดอยตุง อยู่บริเวณ กม. ที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระ-ตำหนักเป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของสวิส มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ
การเดินทางพระตำหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วงบริเวณปากทาง รถออกตั้งแต่ 07.00 น. มีรถออกทุก 20 นาที
เชียงราย อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒธรรมล้านนา กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชอุ่ม ภายหลังเกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ กว่า 30 ปี ที่ผ่านมา ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทรายรมราชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรอบดอยตุง ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย – เมียนมาร์ ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดป่าและทำไร่เลื่อนลอย หันมาทำการเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักร้อย ที่เชือมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป็พื้นเมือง สู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ ที่ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบตามไหล่เขา และบนดอยสูงแนบแน่นอยู่กับแระเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน
วันนี้...ดอยตุงพร้องต้อนรับผู้มาเยือนสู่วิถีชุมชนสัมมาชีพ ในโอบล้อมของสวนป่า และอุทยานที่แลล้วนด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ อันงดงามเกิน




รื่นรมย์ชมไม้เมืองหนาวณ สวนแม่ฟ้าหลวงละลานตาด้วยแปปลงไม้ดอก และไม้พุ่ม จากทุกมุมโลกหมุนเวียนกันเบ่งบานตลอดปีสวยสดราวผืนพรมธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ชมสวนหิน สวนน้ำพุ น้ำผุด ที่จะปรับเปลี่ยนไปทุกปี ในช่วงงาน ห่มหนาว ราวเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน
ณ หอพระราชประวัติเรียนรู้ปรัชญาในการดำรงพระชนม์ชีพ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงให้ชีวิตใหม่แกดอยตุง ราษฎรพากันขานพระนามของพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง”
นิทรรศกาวจัดแสดงด้วยเทคนิคทันสมัยน่าตื่นใจ และสะเทือนอารมณ์ นับแต่เสด็จสู่สวรรคาลัย ก่อนจะย้อนกลับไปยังช่วงต้นของพระชนม์ชีพ แรกพบสมเด็จพระบรมราชชนก พระราชพิธีอภิเษกสมรส ทรงร่วมใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ทรงงอภิบาลพระประมุขของชาวไทย 2 พระองค์พร้อม เสด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงงานด้านการศึกษา สาธารณสุข สาธารณกุศล และทรงได้รับยกย่องจากยูเนสโกเป็น บุคคลดีเด่นแห่งศตวรรษที่ 20


พระบรมธาตุดอยตุง


พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ 2 องค์ โดยมีเรื่องเล่าว่าได้มีการนำพระบรมธาตุมาบรรจุที่ดอยตุงถึง 3 ครั้ง แต่ละครั้งก็จะมีการก่อเจดีย์ขึ้นด้วย แต่มีเพียง 2 องค์เท่านั้นที่ได้รับการบูรณะและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระเจดีย์ทั้ง 2
องค์นี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และพระธาตุย่อย องค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๒๐๐๐ เมตร




คำไหว้บูชาพระบรมธาตุ นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรงมะหาคะมานะ มามิหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา



หลุมตุง อยู่ใกล้ ๆ กับพระธาตุดอยตุงเป็นหลุมสำหรับปักตุงของพระมหากัสสป ปัจจุบันได้รับการดูแลอย่างดี มีการกั้นรั้วล้อมไว้เป็นสัดส่วน
ตามตำนาน มีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนกนาคนคร เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๕๒ พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวาย ซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่า " ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้า"
พระ
เจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว ๓,๐๐๐ วา ไปปักไว้บนดอย เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา
ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวน ๕๐ องค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้ ชาวเชียงราย มีประเพณีการเดินขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
พระธาตุดอยตุง ถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดปีกุญ เนื่องเพราะปู่เจ้าลาวจกและพระยามังราย ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงใหม่ต่างก็ประสูติใน "ปีกุญ"
องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ 2 องค์ โดยมีเรื่องเล่าว่าได้มีการนำพระบรมธาตุมาบรรจุที่ดอยตุงถึง 3 ครั้ง แต่ละครั้งก็จะมีการก่อเจดีย์ขึ้นด้วย แต่มีเพียง 2 องค์เท่านั้นที่ได้รับการบูรณะและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระเจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และพระธาตุย่อย




วัดร่องขุ่น




วัดร่องขุ่น ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น รังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
การเดินทาง : ถนนสายเชียงราย - กรุงเทพฯ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ วัดร่องขุ่นจะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย ๑๓ ก.ม ตรงหลัก ก.ม ที่ ๘๑๖ ถนนพลหลโยธิน (หมายเลข ๑ / A๒ ) เลี้ยวเข้าไปประมาณ ๑oo เมตร จะมีป้ายบอกเป็นระยะๆ
วันเวลาที่แนะนำ : สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี (เปิดให้เข้าชม เวลา 06.30-18.00 น.)
ข้อมูลเพิ่มเติม : วัดร่องขุ่น โทรศัพท์ o- ๕๓๖๗ -๓๕๗๙ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือเขต ๒ โทรศัพท์ o- ๕๓๗๑- ๗๔๓๓
สถานที่ติดต่อ : บ้านร่องขุ่น ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕๗ooo ตั้งอยู่ กม.ที่ ๘๑๗ ก่อนถึงตัวเมือง ๑๓ กม. โทร.๐๕๓-๖๗๓-๕๗๙
เว็บไซต์วัดร่องขุ่น:
http://www.watrongkhun.com/ http://web.chiangrai.net/tourcr/attraction/temple/rongkhun.php , ข้อมูลเพิ่มเติม.. http://www.chiangraifocus.com/



ภูชี้ฟ้า


หากกล่าวถึง “ ภูชี้ฟ้า ” สำหรับนักเดินทางแล้ว หลายคนคงมีโอกาสได้มาชื่นชมทัศนียภาพ ทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า อาบลมห่มหนาว นั่งดูดาวยามค่ำคืน ถ้าบางคนยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศดังกล่าวก็ควรให้รางวัลแก่ชีวิตได้
ภูชี้ฟ้า เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,628 เมตร (5,426 ฟุต) ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อแนวตะเข็บของเส้นแบ่งพรหมแดนของประเทศไทยและบ้านเชียงตองแขวงไชยบุรี สปป.ลาว บนเทือกเขาผาหม่น ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างให้ชื่อของภูชี้ฟ้า ตามก้อนหินขนาดมหึมา ทรงเหลี่ยม แหลม ปลายยอดชี้ขึ้นไปบนฟ้าว่า “หลังคาแห่งสยาม” ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นสลายหมอกอีกแห่งหนึ่ง ช่วงที่สวยงามมากคือเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เวลา 6.30-7.30 น. อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กม. มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชึ้นขึ้นไปบนฟ้า โดยมีหน้าผายื่นเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงมีมีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือน กรกฏาคม-มกราคม
* ก่อนถึงภูชี้ฟ้า 50 เมตรด้านขวามือเป็นดอยหลังเต๋า* เขตแดนแนวสันเขาของภูชี้ฟ้าเป็นเส้นแนวแบ่งเขตไทยลาว* ระยะทางจากจุดลานจอดรถขึ้นภูชี้ฟ้า 700 เมตร เดินทางเท้า* มีแม่คะนิ้ง ตลอดทางเดิน* มีดอกไม้ป่าขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ดอกโคร่งเครา ดอกหญ้า ต้นแอบเปิ้ลป่า ผักกูดป่า(กินไม่ได้) ต้นไม้ที่ใช้ทำไม้กวาด(ต้นกก หรือต้นก๋ง) สตอร์ป่าออกตอนหน้าแล้ง องุ่นป่า
เส้นทางที่สามารถขึ้นไปยังจุดชมวิวมี 3 ทาง คือ1. ทางบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 24 ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง ทางเดินรถถนนลาดยางผ่านวนอุทยานภูชี้ฟ้า ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 700 กว่าเมตร2. ทางบ้านร่มฟ้าไทย ทางเดินเท้าจากหมู่บ้านขึ้นไประยะทาง 1,800 เมตร สำหรับหนุ่ม – สาว และนักเดินทางทางธรรมชาติ3. ทางบ้านร่มฟ้าทอง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น ถนนคอนกรีต ถึงหน่วยจัดการต้นน้ำ หงาว – งาว 2042 แล้วเดินต่อด้วยเท้าประมาณ 800 เมตร

การเดินทางไปภูชี้ฟ้า
(แผนที่) จากจังหวัดเชียงราย สามารถเดินทางไปยังภูชี้ฟ้า ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 113 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ตามเส้นทางหมายเลข1021 (เชียงราย – อำเภอเทิง) ถึงอำเภอเทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางจากอำเภอเทิงสามารถเดินทางขึ้นไปยังภูชี้ฟ้าได้ 3 เส้นทาง คือ1. เส้นทางอำเภอเทิง – บ้านปางค่า โดยใช้เส้นทางหมายเลข 1021 และ 1155 ผ่านบ้านราษฎร์ภักดี ถนนสาย 1093 แยกไปทางขวาระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงบ้านร่มฟ้าไทย ถ้าแยกไปทางซ้ายระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงบ้านร่มฟ้าทอง ระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร2. เส้นทางอำเภอเทิง – บ้านปางค่า โดยใช้เส้นทางหมายเลข 1021 และ 1155 ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง จากบ้านปางค่าเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมาเลข 1093 บ้านปางค่า – บ้านร่มโพธิ์ไทย (เล่าอู่) – บ้านร่มฟ้าไทย ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร สภาพเป็นดินลูกรัง ขึ้นเขาและมีสภาพชันเป็นบางช่วง เหมาะสำหรับขับเคลื่อน 4 ล้อ3. เส้นทางอำเภอเทิง – บ้านสบบง (อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา) บ้านฮวก โดยเส้นทางหมายเลข 1021 และทาง รพช. หมายเลข 11022 ระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร และจากบ้านฮวก ถึงบ้านร่มฟ้าไทย (ภูชี้ฟ้า) ใช้เส้นทางหมายเลข 1093 ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางขึ้นเขาและเลียบริมเขาตลอดจนถึงบ้านร่มฟ้าไทย (ภูชี้ฟ้า) รวมระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร


แม่สายเจ้า



อำเภอแม่สาย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สายเป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันโดยเสรี นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินทางไปยังตลาดแม่สายและท่าขี้เหล็กของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูก เช่น สบู่สุมนไพร เครื่องทองเหลือง ตะกร้า การข้ามไปท่าขี้เหล็ก นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.30 - 18.00 น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ ค่าบริการคนละ 30 บาท ค่าผ่านแดนเข้าพม่า 10 บาท สินค้าที่ไม่อนุญาตให้ซื้อเข้าไทย ได้แก่ สินค้าจากากวัตว์ป่า สุรา บุหรี่ต่างประเทศและซีดีลามกอนาจาร หากซื้อมาเพื่อการค้าต้องเสียภาษีนำเข้าให้ถูกต้องด้วย



พระธาตุดอยเวา



วัดพระธาตุดอยเวา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (ตั้งอยู่บนดอยริมฝั่งแม่น้ำสาย) ตามประวัติกล่าวว่า พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกเป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ.364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองลงจากพระบรมธาตุดอยตุง บนพระธาตุดอยเวาได้จัดตกแต่งให้มีความร่มรื่นเป็นอันมาก มีหอชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ในตัวเมืองแม่สาย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนม่าร์ ได้อย่างชัดเจน มีรูปปูนปั้นแมงป่องช้าง (แมงเวา) ตัวขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ บริเวณลานกว้างทางด้านเหนือขององค์พระเจดีย์ มีอนุสาวรีย์ของ พระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยา และพระเอกาทศรสประดิษฐานอยู่เคียงข้างกัน โดยอนุสาวรีย์ทั้ง 3 พระองค์สร้างขึ้นตามความตั้งใจของหลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร รวมทั้งมีปราสาทไพชยนต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประกาศถึงคุณงามความดี และเพื่อสักการะพระอินทร์ (องค์อัมรินทราธิราช) ซึ่งร่วมสร้างกันหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ และเอกชน คหบดีของอำเภอแม่สาย ฯลฯ



ถ้ำผาจม






ถ้ำผาจม หรือ สำนักวิปัสสนาวัดถ้ำผาจม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอยอีกลูกหนึ่งทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย เคยเป็นสถานที่พระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วย ภายในถ้ำผาจมมีหินงอกหินย้ยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรการตา


ถ้ำปุ่ม-ถ้ำปลา-ถ้ำเสาหินพญานาค



ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ 11 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าไปอีกแระมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงประกอบด้วย ถ้ำหอนงอก หินย้อย และทางน้ำไหลมากมาย ถ้ำปุ่มอยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขา ต้องปีนขึ้นไป ภายในถ้ำมืดมากต้องมีผู้นำทาง
ถ้ำปลา เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "พระทรงเครื่อง" เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้
ถ้ำเสาหินพญานาค อยู่บริเวณเดียวกัน เดิมต้องพายเรือข้ามน้ำเข้าไปชม ภายหลังได้สร้างทางเดิน เชื่อมกับถ้ำปลา ระยะทาง 150 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย และยังเป็นที่ปฏิบัติธรรมด้วย







ข้อมูลเพิ่มเติม.. http://www.chiangraifocus.com/



ประวัติเมืองเชียงแสน



ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงแสน มีบรรทึกไว้ในตำนานพงศาวดานหลายฉบับหลายสำนวนแต่เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นเค้าโครงเดียวกัน การเริ่มเรื่องตำนานจะกล่าวตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาลว่าพระเจ้าสิงหลวัติกุมาร อพยกจากเมืองไทยเทศล่องมาตามลำน้ำโขง และตั้งบ้านแปลงเมืองโดยมีพญานาค ช่วยขุดคูปราการเมือง ปรากฏชื่อเมืองว่า นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร

ต่อมาตามตำนานได้กล่าวถึงการรวบรวมดินแดนให้เป้นปึกแผ่นของ พระเจ้าสิงหนวัติ โดยรวมเอาชาวนิวัติขุ และการปราบปรามพวกกล๋อม หรือขอมให้อยู่ใต้อำนาจ หลังจากนั้นเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาหลายพระองค์ แต่ละพระองค์ต่างก็เน้นในการทำนุบำรุงศาสนาเป็นกลัก
ต่อมาในรัฐสมัยของพระเจ้าอังคราชอำนาจของขอม เมืองอุโมงคเสลา มีมากขึ้น สามารถรบชนะพระเจ้ามังคราชและขับไล่ให้ไปอยู่ที่เมองสีทอง โอรสพระเจ้ามังคราชคือ พระเจ้าพรหม สามารถปราบปรามพวกขอมลงได้สำเร็จจึงอัยเชิญพระเจ้าอังคราช กลับเข้าไปครองราชสมบัติที่ เมืองนาคพันธุ์ฯ ตามเดิม อานาเขตของเมืองนาคพันธุ์สมัยพระเจ้าพรมได้ขยายกว้างขึ้นไปอีกโดยไปสร้าง เวียงไชยปราการ และครองราชอยู่ที่นั้น ในรัชกาลของ พระเจ้าชัยศิริ เวียงไชยปราการก็ถูกรุกรามโดย กษัตริย์จากเมืองสะเทิม พระเจ้าชัยศิริเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงเสด้จไปที่เวียงกำแพงเพชร สำหรับทางเมืองนาคพันธุ์ก็มีกษัทตริย์ปกครองมาจนถึงรัชกาลของ พระเช้ามาชัยชนะ ก็เกิดเหตุการณ์อาเพสจนเมืองล่มกลายเป็นหนองน้ำ มืองเชียงแสนตั้งแต่สมัยพระนาราย เป็นต้นมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนอย่างแท้จริง เพราะกาตริย์ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เมืองเชียงแสน ปัจจุบันสร้างขึ้นด้วยพระเจ้าแสนภู บริเวณเมืองเก่าแม่น้ำโขงราว พ.ศ. 1871 แต่มีบางท่านที่มีความเข้าใจว่าเมืองเชียงแสนอาจมีอายุแก่กว่านี้ได้

อานาเขตของเมืองเชียงแสนเมือแรกตั้ง ทิศเหนือติดต่อกับเมืองเชียงตุง ที่เมืองก่ายตัดไปหาบ้านท่าสามท้าว, ทิศตะวันออกเชียงเหนือ ติดแดนเมืองเชียงตุง ที่ดอยหลวงเมืองภูคา, สตะวันออกติดแดนหลวางพระบาน ที่ดอยเชียงคี ทิศตะวันออกเฉลียงใต้ ติดกับเขตแดนเมืองเชียงของ , ทิศใต้ติดกับเมืองเชียงราย บริเวณแม่น้ำยม, ทิศตะวันตกเเฉลียงใต้ ติดแดนเมืองฝาง ที่ดอยกิ่วคอหมา, ทิศตะวันตกติดกับเมืองลาด บริเวณดอยผาตาแหลว และ
ทิศตะวันตกเฉลียงเหนือ ติดกับดอยเชียงตุงบริเวรดอยผาช้างหลังจากสร้างเมืองแล้ว พระเจ้าแสนภูประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนจนสวณณรคต พ.ศ. 1877 เมืองเชียงแสน คงเป็นเมืองที่มีความสำคัญในขระนั้น เพราะกษัตริย์องค์ต่อมา คือพระเจ้าคำฟูทรงย้ายจากเชียงใหม่มาประทับที่เชียงแสนโดยตลอดรัชกาล แต่หลังจากสมัยพระเจ้าคำฟูแล้วเมืองเชียงแสนคงลดฐานะลงกลายเป็นเมืองลูกหลวางเท่านั้น เพราะพระเจ้าผายู โปรดให้พระเจ้ากือนาราชโอรสมาปกครองเมืองเชียงแสนแทน จากนั้นตั้งแต่รัชกาลกือนาเป็นต้นมา เมืองเชียงแสนถูกลดบทบาทลงไปอีก เพราะมหากษัทริย์รัชกาลต่อๆมา
ได้โปรดแต่งตั้งเพียงพระราชวงศ์หรือขุนนางที่มีความดีความชอบ ขึ้นมาปกครองในบานะเจ้าเมืองแทน ทำให้เมืองเชียงแสนคงอยู่ใรฐานะหัวเมืองหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม่จะลดบานะเป็นเพียงหัวเมือง แต่ผู้ปกครองเมืองเชียงแสนทุกคนต่างก็ทำนุบำรุงบ้านเมืองและมีการสร้างวัดวาอารามอยู่เสมอ จนกระทั้ง พ.ศ. 2100 เมืองเชียงแสนก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พร้อมกับเมืองเชียงใหม่และอีกหลายๆเมืองในล้านนา

ต่อมาราวปีพ.ศ. 2153 ในรัชกาลของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มังนธาช่อเจ้าเมืองเชียงใหม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรโปรดจัดการปกครองเชียงใหม่และให้ออกรามเดโชไปครองเชียงแสน เมืองเชียงแสนอยู่ภายใต้ขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยาได้ไม่นาน ก็ต้องยอมต่อพม่าอีกคั้งหนึ่ง จากนั้นพม่าก็แต่งตั้งขุนนางมาโดยตลอด บางครั้งก็มีกระแสพยายามจะปลดแยกอำนาจของพม่าของชาวพื้นเมือง เช่นกรณีของเทพสิงค์ และน้อยวิสุทิ์ แห่งลำพูนวึ่งสามารถตีเมืองเชียงแสนคืนได้ ในราวปี พ.ศ.2300 แต่ไม่นานพม่าก็กลับมาปกครองได้อีก จนกระทั้ง พ.ศ.2347 พระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯให้เจ้าฟ้าหลวง เทพหริรักษ์ และเจ้าพยายมราชยกทัพขึ้นไปสมทบกับทัพจากเวียงจันทนื น่าน ลำปาง และเชียงใหม่ รวมกำลังขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนเป็นผลสำเร็จและกวดต้อนผู้คนลงไปไว้ตามเมืองทั้งห้าการสึกครั้งนี้ทำให้เมืองเชียงแสนถูกเผาทำลายจนหมดความสำคัญทางยุทธศาสตร์ไปมากในรัชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว พ.ศ.2413 มีชาวพม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง และชาวไทยใหญ่จากเมืองหมอกใหม่ ได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงแสนเจ้าอุปราชวงค์เมืองเชียงใหม่ จึงมีหนังสือแจ้งไปยังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้อุปราชเมืองเชียงใหม่ และโปรดฯเกล้าให้เจ้าอินต๊ะ นำราษฏรจากเมืองลำพูน ลำปาง และเมืองเชียงใหม่ขึ้นไปตั้ง
ถิ่นฐานที่เมืองเชียงใหม่แทน แล้ว ยก เจ้าอินต๊ะ ให้เป็น พระยาราชเดชดำรง เจ้เมืองเชียงแสน ปี พ.ศ.2438 เมืองเชียงแสนหลวง ในปี พ.ศ.2472 ต่อมาถูกยุบบานะกลับเป็นอำเภอเชียงแสน ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายอีกครั้งเมือ วันที่ 9 เมษายน 2500 จนถึงปัจจุบันศิลปะวัตถุเมืองเชียงแสนที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระพุทธรูปที่ทำจากเนื้อสำริด มีทั้ง พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง วึ่งอยู่ใน ยุคของแสนแว้ว เป็นพระที่มีอายุเลิศล้ำทางศิลปะ และพระสกุลเชียงแสนสิงห์ต่างๆทั้งพระศิลปะลังกา สุดขทัย ตลอดถึงสมัยอยุธยาก็มี พระเครื่องส่วนใหญ่จะมีเนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อตะกั่วแซมไข ส่วนประเภทพระเนื้อดินนั้นมีน้อย





ข้อมูล: http://www.phrachiangsan.com/



แหล่งท่องเที่ยว


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย หรือ ทะเลสาบเชียงแสน (Nong bong khai non-hunting area)



ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลโยนก หมู่ 3 ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน และตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหนองน้ำ มีส่วนของพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นป่าแนวแคบๆ อยู่รอบหนองและบนเกาะกลางน้ำเท่านั้น พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จึงเป็นสังคมพืชน้ำซึ่งค้นพบ จำนวนทั้งสิ้น 185 ชนิด เช่น ผักบุ้ง , บอน , หญ้าไซ , บัวหลวง และ กก เป็นต้น เป็นพืชต่างถิ่น 15 ชนิด เช่น กระถินยักษ์ , หญ้าชน
พื้นที่แห่งนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติทั้งด้านแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย สำหรับสัตว์ป่าจำพวกนกน้ำ ซึ่งพบทั้งสิ้น 156 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น จำนวน 66 ชนิด , นกอพยพ จำนวน 64 ชนิด , นกประจำถิ่นและนกอพยพ จำนวน 16 ชนิด และนกไม่ทราบสถานภาพ จำนวน 10 ชนิด นกอพยพบางชนิดเป็นนกที่หายาก เช่น เป็ดเปียหน้าเขียว , เป็ดแมนดาริน , เป็ดผีใหญ่ เป็นต้น ส่วนนกประถิ่นได้แก่ นกเป็ดแดง , นกอีโก้ง , นกอีล้ำ เป็นต้น และบริเวณพื้นที่ ยังมีศาลานั่งพักผ่อน และบ้านพักสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชมและต้องการพักผ่อนหย่อนใจในธรรมชาติ





สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: โทร. 08-5716-6549 (ท่านหัวหน้าเขตฯ วชิรายุ เกียรติบุตร) , http://web.chiangrai.net/tourcr/sport/bridwatching.php



วัดพระธาตุเจดีย์หลวง





วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน เป็นวัดที่เก่าแก่ของเมืองเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาไท เมื่อ พ.ศ. 1887 หลังจากนั้นพระเจ้าแสนภูได้เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่แทนพระราชบิดา คือ พระเจ้าชัยสงครามซึ่งเสด็จมาประทับยังเมืองเชียงราย พร้อมทั้งนำอัฐของพระราชบิดา คือพ่อขุนเม็งรายมหาราชที่เสด็จสวรรคตที่เชียงใหม่กลับมายังเมืองเชียงรายด้วย


พระธาตุเจดีย์หลวงได้ชื่อมาจากพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดซึ่งสูงถึง 88 เมตร มีฐานกว้าง 24 เมตร เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงแสน ภายในวัดนอกจากพระเจดีย์หลวงแล้วยังมีพระวิหารซึ่งเก่าแก่มากพังทลายเกือบหมดแล้วและเจดีย์ธาตุแบบต่างๆ อีก 4 องค์ โบราณสถานแห่งนี้แม้ว่าจะปรักหักพังไปมากแล้วแต่ได้รับการบูรณะอย่างดีให้สมกับเป็นวัดที่สำคัญของเมืองหิรัญนครเงินยางภายในสมัยอาณาจักรล้านนาไท




วัดพระธาตุผาเงา






วัดพระธาตุผาเงา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงกันข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กม. หรืออยู่ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 15 กม. มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและ มาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนเขาเรียกดอยลูกนี้ว่า “ดอยคำ” แต่มาภายหลังชาวบ้านเรียกว่า “ดอยจัน” ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงาที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาก็คือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และทำให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “พระธาตุผาเงา” ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า “วัดสบคำ” ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณ ของวัดพัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดพระธาตุผาเงา โทร. 0-5377-7154-2 , องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง โทร. 053-650803
สถานที่ติดต่อ :วัดพระธาตุผาเงา บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์. 0-5377-7154-2
เว็บไซต์ :
http://www.watphradhatphangao.org/


เมืองโบราณเชียงแสน





เมืองเชียงแสนเป็นเมืองเล็กๆๆ ในจังหวัดเชียงรายและเป็นหนึ่งในเมืองโบราณเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่เลียบน้ำโขง แม่น้ำสายนานาชาติไหลผ่านประเทศมากกว่า 6 ประเทศ ให้ผู้คนมากมายได้อาศัย ชาวเชียงแสนใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสงบสุขท่ามกลางโบราณสถานมากมายกระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วทั้งอำเภอ ....อาณาจักเชียงแสน พื้นที่ราบริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงถูกกล่าวขวัญผ่านตำนานประวัติศาสตร์เรื่องราวผูกโยงก่อนอาณาจักรล้านนาจะมีตัวตนเสียอีก เพียงแค่การยืนยันจากหลักฐานทางโบราณสถานที่หลงเหลือไม่อาจรองรับความเก่าแก่ระดับตำนานได้ เวียงหนองหล่ม จึงดำดิ่งไปกับตำนานสถาปัตยกรรมโบราณ เล่าความกลับไปไม่มากนัก ทว่าบ่งบอกเรื่องราวเติมเต็มให้กับล้านนาได้มากมาย

* พื้นที่ราบริมฝั่งตะวันตกแม่น้ำโขง

- เจดีย์วัดป่าสัก
- แนวกำแพงเมือง
- พระธาตุเจดีย์หลวง
- วัดมุงเมือง
- วัดพระบวช
- วัดพระเจ้าล้านทอง
* วัดบนเนินเขา และวิวเมืองเชียงแสนเขตปันแดนธรรมชาติแม่น้ำโขง
- วัดพระธาตุผาเงา
- วัดพระธาตุจอมกิตติ
* พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน

ข้อมูลเพิ่มเติม :
http://web.chiangrai.net/tourcr/Trip/Ancient-Chiangsaen/AncientCHIANGSAEN.html


สามเหลี่ยมทองคำ







อยู่ห่างจากเชียงราย 60 กม. เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ ทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีความงดงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอกด้านฝั่งพม่า และลาว นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ 400-600 บาท นั่งได้ 6 คน ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ แต่ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล นักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้ หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง หรือจุดชมวิวบนวัดพระธาตุดอยปูเข้า






ข้อมูลเพิ่มเติม.. http://www.chiangraifocus.com



หาดเชียงราย



ภาพประกอบ หาดเชียงราย(พัทยาน้อย )



หาดเชียงราย (พัทยาน้อย) ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านป่างิ้ว หมู่ 4 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมมาเที่ยวกันมากพอสมควรโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เป็นจุดชมวิวและรับประทานอาหารและมีเรือนแพตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก ซึ่งแม่น้ำกกจะไหลผ่านเทือกเขาทำให้เกิดทิวทัศน์สวยงาม สามารถมองเห็นหินงอกที่เกิดจากถ้ำหินปูน บริเวณริมแม่น้ำกกจะมีร้านอาหารจำนวนมากให้บริการแก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้บริเวณหาดเชียงรายยังมีลานกีฬาและสวนสุขภาพไว้สำหรับออกกำลังกาย



วัดพระแก้ว



ภาพประกอบ วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา 45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่ วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์ หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า วัดพระแก้ว ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์

พระอุโบสถ์ ในวัดพระแก้วมีความงดงามมาก ในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน คนเชียงรายเรียกกันว่า "พระเจ้าล้านทอง" เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงรายเคารพนับถือเป็นอันมาก แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504


พระแก้วหยก เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2534 ชาวเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐานหอพระ ณ วัดพระแก้ว เรียกว่า พระหยกเชียงราย ปัจจุบัน วัดพระแก้วมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521


การเดินทาง เมื่อถึงห้าแยกพ่อขุนเม็งรายกลางตัวเมืองเชียงรายให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสิงหไคล แล้วตรงเรื่อยๆ จนสุดทางสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นวัดพระแก้วอยู่ทางขวามือ